
ต้นราชพฤกษ์ หรือต้นคูน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย ศรีลังกา พม่า และไทย นอกจากนี้ราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้และต้นไม้ประจำชาติของประเทศไทย และเป็นดอกไม้ประจำรัฐเกรละของประเทศอินเดียอีกด้วย
ลักษณะ
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 10–20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาวประมาณ 20–40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4–7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาวประมาณ 30–62 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 1.5–2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
เกี่ยวกับชื่อต้นราชพฤกษ์
ชื่อของราชพฤกษ์มีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า ‘คูน’ เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น ‘คูณ’) ทางภาคเหนือเรียกว่า ‘ลมแล้ง,’ ทางภาคใต้เรียกว่า ‘ราชพฤกษ์,’ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า ‘ลักเกลือ’ หรือ ‘ลักเคย,’ และกะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียกว่า ‘กุเพยะ,’ ชาวมอญเรียกว่า ‘ปะกาวซังกราน’ (ပ္ကဴသၚ်ကြာန်) เนื่องจากออกดอกในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ความเชื่อ
ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง, เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล, และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ
คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ. สิ่งเจริญเติบโตนี้เกิดได้เพราะทิศตะวันตกเฉียงใต้มีแดดจัดตลอดช่วงบ่าย, จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อลดความร้อนและประหยัดพลังงาน
คนไทยในสมัยโบราณยังเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี. นอกจากนี้, ใบของต้นราชพฤกษ์ถือว่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจและทางวิจัย เนื่องจากสามารถใช้ในพิธีทางไสยศาสตร์
ติดตามไม้ประดับเพิ่มเติม :: พันธุ์ไม้ประดับ